PLC Programmable Logic Controller

      ใครที่เรียนไฟฟ้า ไม่รู้จัก PLC คงแย่อยู่นะ เพราะในโรงงานใหญ่ๆ 99.99 % ต้องใช้อ่ะ เพราะในกระบวนการผลิตจะใช้ PLC ไปควบคุมเครื่องจักร ซึ่ง PLC เก่งๆ แค่ตัวเดียวก็สามารถคุมการผลิตได้ทั้งไลน์เลยนะ PLC มันเป็น เทคโนโลยีที่มาแทนวงวรรีเลย์ ซึ่งข้อดีที่โปรแกรมได้จึงสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมได้ โดยไม่ต้องไปรื้อ hardware แบบรีเลย์ ส่วนราคาก็แล้วแต่ยี่ห้อ เท่าที่เคยใช้ส่วนใหญ่ที่ราคาแพงๆหน่อย จะใช้ง่ายมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ อัพโหลดโปรแกรมควบคุม PLC แต่ก็มีแบบต้องมากดปุ่มทีละตัวคีย์โปรแกรมเองก็มี(ขอบอกว่าถึกมาก เคยคีย์โปรแกรมเบาๆ แค่ 30 กว่าบล็อคซัดไปเป็นชั่วโมง แถมคีย์ผิดไม่รู้จะเช็คไงต้องมานั่งคีย์ใหม่หมด T_T)

        ส่วนภาษาในการโปรแกรมนั้นก็มีทั้งหมด 3 ภาษา คือ

                  1) ladder คล้ายๆกับวงจรไฟฟ้า input ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ ดูง่ายดีผมก็ชอบใช้

                  2 ) function Block แบบใช้จะเอาพวก  Logic Block มาต่อกัน เหมือนที่เรียนในวิชา Digital ตอนแรกก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมอาจารย์ชอบให้ใช้แบบนี้ มาบางอ้อที่หลังว่า เวลาทำโปรแกรมที่ซับซ้อนๆ ภาษานี้จะใช้ได้ง่ายอ่ะ

                  3) Instruction List แบบนี้จะเหมือนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สุดแล้ว เพราะคำสั่งจะเป็น ข้อความล้วน เช่น การ And อินพุตสองตัวไปสั่งเอาท์พุต ก็จะเป็น    and  I1  I2  Q1      (การเขียนมันแล้วแต่ยี่ห้อนะไม่เหมือนกัน)  


      ส่วน ยี่ห้อที่ผมเคยเห็นก็มี Siemens  omron mitsubishi  แล้วก็ arrey ที่จริงในท้องตลาดมีเยอะกว่านี้ครับลองถาม google ดู  นะ ^ ^






      

linux - basic command

รวมคำสั่งลีนุกส์เบื้องต้น ครับ ขอยํ้าว่าเบื้องต้นจริงๆ เอิ๊กๆ เหมาะสำหรับคนหัดใช้หรือพึ่งหันมาใช้ลีนุกส์

passwd [ตามด้วยชื่อ user]  - ใช้ในการรหัสผ่านของ User ถ้าเป็น root สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านของ user อื่นๆ

ได้โดยการพิม  คำสั่ง passwd ตามด้วยชื่อ user ที่ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน

startx - เป็นคำสั่งเรียกใช้ เข้า กราฟฟิก UI ของลีนุกส์

ls - ดูลิสไฟล์ทั้งหมดในตำแหน่ง foder ที่เราอยู่ในปัจจุบัน

pwd - ดูตำแหน่งที่เราอยู่ปัจจุบัน

cd - คำสั่งเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่

mkdir - คำสั่งสร้าง  foder ใหม่

rmdir - คำสั่งลบ foder

cat - คำสั่งอ่านไฟล์

cp - คำสั่งย้ายไฟล์

rm - คำสั่งลบไฟล์


       

สูตรพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า

รวมสูตร วิศวไฟฟ้า


ไฟฟ้ากระแสสตรง


          V = IR               สูตรความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดัน กระแส และความต้านทาน

          P = IV               สูตรความสัมพันธ์ระหว่าง กำลัง กระแส และความแรงดัน



Electrical and Computer Engineering By Engiball


TPM

TPM

     TPM Total Productive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการบริหาร ทางด้านการผลิต ซึ่งจริงๆจะไปทางแนวของ วิศวอุตสาหการ แต่สำหรับวิศวไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ ก็ต้องรู้ไว้เพราะตามชื่อ T ตัวแรก Total ทุกคนในโรงงานหรือบริษัทต้องมีส่วนร่วม 
     TPM นั้นคือหลักการในการบริหารควบคุมการผลิตที่ปฎิบัติแล้วจะทำให้เกิดผลผลิตหรือกำไร ซึ่งหลักการของ TPM นั้นจะประกอบด้วย 8 เสาหลัก ดังนี้
  1. การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย (Focused Improvement)
  2. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
  3. การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)
  4. ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษา (Operation and Maintenance Skills Training)
  5. การจัดการเครื่องจักรใหม่ (Early Management)
  6. การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)
  7. การทำ TPM ในสำนักงาน (Office Improvement)
  8. การจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม(Safety and Environmental Management)

ซึ่งจะเห็นว่า 8 เสาหลักนั้นจำเน้นไปที่การจัดการกระบวนการผลิตเป็นหลัก ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดผลกำไรอย่างแท้จริง  ส่วนหลักการดำเนินการของ TPM นั้นจะมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ซึ่งจะกล่าวในภายหลังครับ

Flynn's taxonomy Computer Architecture

Fynn จัดประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ตามลักษณะของ instruction stream  และ  Data stream ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 แบ่งคือ

1 SISD : single-instruction single-data streams  แบบนี้จะมี ชุดคำสั่งสตรีมเดียว และ ชุดข้อมูลสตรีมเดียว พื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมของ Von Neumann


2 SIMD : single-instruction multiple-data streams   แบบนี้จะ มีหลายชุดข้อมูลสตรีม แต่มี ชุดคำสั่งสตรีมเดียว ซึ่งจะมีความเร็วมากกับการใช้กับการประมวลผลเดิมๆ ซํ้าๆ กับหลายชุดข้อมูล แต่จะไม่เพิ่มความเร็วขึ้นถ้าการประมวลผลกับการกระทำหลายชุดคำสั่ง

3 MISD :  multiple-instruction single-data streams  แบบนี้จะทำกับชุดข้อมูลเดียวกับหลายชุดคำสั่ง ไม่นิยมใช้กัน


4 MIMD: multiple-instruction multiple-data streams แบบนี้จำเป็นหลายสตรีมทั้งชุดข้อมูลและชุดคำสั่ง ตอนนี้เริ่มเป็นที่นิยมเพราะมีความยดหยุ่นและสามารถใช้จุดเด่นของ microprocessor


โปรเจคจบเขียนโปรแกรม PLC

โปรเจคจบสมัยป.ตรี ทำอุปกรณ์ในการฝึกเขียนโปรแรกม PLC ซึ่งก็จะมีแบบซอฟแวร์ สร้างจาก VI จำลองการควบคุมหม้อต้มนํ้าในโรงงาน และที่เป็นฮาร์ดแวร์ออกมา 2 อัน คือ ลิฟต์จำลองและไฟจารจรจำลอง ตอนแรกว่าจะอธิบายทุกอย่างไว้ที่ http://plc-trainner.blogspot.com/ แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มเขียนเลย ตอนนี้เริ่มอยากกลับมาทำล่ะ ถ้าว่างคงหาซื้อ PLC สักตัวมาลองต่อเล่นทำดู

ตัวอย่าง ไฟจราจร ควบคุมสี่แยก มีทำได้ทั้งแบบควบคุมเอง และอัตโนมัติ 

ตัวอย่าง ลิฟต์จำลอง 5 ชั้น 

คำสั่งเปลี่ยน path drive

นั่งงงตั้งนาน พยายามเปลี่ยน  path จาก C: ไป D ใช้ >>cd d:/ ไม่ยอมเปลี่้ยนสักที

แต่สุดท้าย ก็เจอจนได้ เฮอๆ (จำไม่ได้แระที่ใหน *_*)

ใช้ command>>cd /d d:  แค่เนี้ยเฮอๆ ปึกอีหลีว่ะ(ภาษาอีสานแปลว่าโง่บักคัก(มาก)) T_T